วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ใบงานที่ 8
โครงงานประเภท 
" การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ "

ใบงานที่ 7
โครงงานประเภท " การประยุกต์ใช้งาน "

ใบงานที่ 6
ความหมายและตัวอย่างหัวข้อโครงงาน
ประเภท " การทดลองทฤษฎี "

ใบงานที่ 5
" โครงงานประเภทการพัฒนาเครื่องมือ "

ใบงานที่ 4
" โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา "

ใบงานที่ 3
" ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน "


 ใบงานที่ 2
"ความหมายและความสำคัญ"
ของโครงงานคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ใบงานที่ 4 ความรู้เรื่อง Blog

ใบงานที่ 2 บทความสารคดี


ปลาโลมาสีชมพู
(Pink dolphins) 

Cr : http://voteruby.hk/img/slide-1-bg.jpg
---------------------------------------------------------------------
           ชื่อสามัญ  :  โลมาหลังโหนก
           ชื่อสามัญ :  Indo-Pacific humpback dolphin
           ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Sousa chinensis
           วงศ์ :  DELPHINIDAE

 ---------------------------------------------------------------------

       โลมาสีชมพูจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำที่มีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายใกล้เคียงกับวาฬ  


ลักษณะของโลมาสีชมพู
          โลมาสีชมพูมมีสีหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับอายุ หรือ ฝูง  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสีเทาขาว  สีดำ และ สีชมพู  ตัวอ่อนจะมีสีเข้มกว่าตัวเต็มวัย ยิ่งแก่เท่าไหร่สีผิวจะยิ่งเป็นสีชมพูมากขึ้น บริเวณผิวด้านล่างจะเป็นจุด ๆ และมีสีที่สว่างกว่าด้านบน
           ขนาด
           มีขนาดประมาณ  2.2-2.8 เมตร ตัวเมียจะเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย หนักประมาณ 150-230 กิโลกรัม
ตัวอ่อนมีขนาดตัวประมาณ 1 เมตร
           ช่วงอายุ
           อายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี
          ทำไมโลมามีสีชมพู
           สีชมพูนี้ไม่ได้มาจากเซลเม็ดสีแต่มาจากสีของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุณหภูมิของ
ร่างกายสูงเกินไป
          บริเวณที่อยู่
           ชอบอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง หรือบริเวณที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร ชายฝั่งทะเลนั้นจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอแต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่า นั้น ชอบอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกิน ระยะ 1 กิโลเมตร
           ลักษณะการดำรงชีวิต
           มักอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า ประมาณ 4.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ  บางครั้งมีพฤติกรรมดุร้าย โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ล่าเข้ามา
           อาหาร
           ชอบกิน ปลาเล็ก ปลาหมึก และสัตว์พวกกุ้ง เคย ปู เป็นต้น  เมื่อออกหาอาหาร จะใช้สัญญาณเอคโค และออกล่าเป็นกลุ่ม ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่รวมกลุ่ม แต่โลมาสีชมพูก็จะดุร้ายได้เหมือนกัน และจะต้องการแยกตัวเองออกไปพอสมควรจากตัวอื่นเมื่อต้องการหาอาหาร หรือต้องกินอาหาร
           แหล่งที่พบ
           ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค และในทะเลจีนใต้ 


Cr : http://i1.ytimg.com/vi/2fD-pGcrlKo/maxresdefault.jpg
พฤติกรรมของโลมาสีชมพู

  • พฤติกรรมการกินอาหาร
           โลมาหลังโหนกจะแสดงพฤติกรรมการกินอาหารในน้ำที่มีความลึกตั้งแต่ 1.3 ถึง 8.0 เมตร เฉลี่ย 2.49 เมตร ห่างจากฝั่งตั้งแต่ 10 ถึง 500 เมตร เฉลี่ย 59.5 เมตร และมีขนาดฝูงในขณะหาอาหาร   ลักษณะของพฤติกรรม คือ โลมามักออกหากินในช่วงเช้า โดยมีทั้งล่าแบบเดี่ยวและช่วยกันล่า โลมาจะว่ายเข้าสู่ที่ตื้นอย่างรวดเร็ว เพื่อต้อนปลาเข้าไปยังน้ำตื้นหรือโขดหิน จากนั้นจึงกระโดดบิดตัวหงายท้องโค้งตัวออกมาจากน้ำ ทำมุมกับผิวน้ำทะเลประมาณ 45° เพื่อโฉบงับปลาอย่างรวดเร็วโดยใช้ขากรรไกรล่างที่ยาวกว่าเป็นตัวงับ

          ชนิด อาหารที่พบในกระเพาะของซากโลมาหลังโหนกเกยตื้นว่า พบกลุ่มปลาจวดชนิด Johnius sp. บ่อยที่สุด ตามด้วยชนิด Collichthys lucida และ ปลากะตักชนิด Thryssa spp. และพบหมึกด้วยแต่เป็นจำนวนน้อย ในขณะที่การสังเกตจากการสำรวจพบว่า เหยื่อที่โลมากินมีตั้งแต่ปลากระบอก ปลาตะกรับ และปลาที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง มีบางครั้งที่พบฝูงโลมา 2-3 ตัวช่วยกันล่าหมึกบริเวณใกล้ชายฝั่ง สังเกตได้จากน้ำหมึกในบริเวณที่มีการล่า จากการสำรวจบริเวณที่พบโลมาแสดง พฤติกรรม   การกินอาหารบริเวณที่มีแหล่งหญ้าทะเลและป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด

  • พฤติกรรมการหายใจ
           โลมา หลังโหนกมักว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำ โดยชูจะงอยปากขึ้นจากน้ำก่อนที่จะโผล่หัวขึ้นตามมา  แม้จะสามารถดำน้ำได้นานถึง 4-5 นาทีแต่โลมามักจะอยู่ใกล้และหายใจที่ผิวน้ำบ่อยครั้งมากกว่าดำอยู่ใต้น้ำเป็น เวลานานโดยหายใจทุกๆ 40-60 วินาที  เมื่อช่องหายใจโผล่ออกมาสัมผัสอากาศ ลำตัวส่วนใหญ่ยังคงอยู่ใต้น้ำ มีเพียงส่วนหลังเพียงเล็กน้อยและครีบหลังที่โผล่พ้นน้ำ

Cr : http://www.amazingthailandholidays.com/media/catalog/product/cache/1/image/700x700/9df78eab33525d08d6e5fb8d27136e95/p/i/pink_dolphin_playing_khanom_1.jpg

  • พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีและการผสมพันธุ์ 
            โลมา หลังโหนกสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี จึงพบการเกี้ยวพาราสีและการผสมพันธุ์ของโลมาหลังโหนกอยู่บ่อยครั้งในช่วงที่ มีการแสดงพฤติกรรมทางสังคม และเกิดภายในขนาดของฝูงที่หลากหลาย (4-16 ตัว คละช่วงอายุ) โลมาที่แสดงพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีและพฤติกรรมที่คล้ายการผสมพันธุ์ มักจะแยกตัวออกมาจากฝูง ซึ่งอาจมีจำนวน 2-6 ตัว ลักษณะที่แสดงให้ เห็นถึงพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีจะเริ่มจาก โลมาสองตัว (หรือมากกว่า) ว่ายคลอเคลียกันไปมา แสดงให้เห็นโลมาสองตัวว่ายประกบโลมาอีกตัว โดยสองตัวที่อยู่ข้างนอก (คาดว่าน่าจะเป็นตัวผู้) จะปีนขึ้นและถูท้องของตัวเองกับโลมาตัวที่อยู่ตรงกลาง (คาดว่าน่าจะเป็นตัวเมีย) โลมาที่อยู่ตรงกลาง ตัวนั้นจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรวมถึงการตีครีบ และฟาดหาง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ วิเคราะห์ว่าเป็นพฤติกรรมแสดงความรำคาญ โดยอาจเป็นไปได้ว่าโลมาตัวผู้ทั้งสองตัวนั้นพยายามที่จะทำการผสมพันธุ์โดยที่โลมาตัวเมียไม่เต็มใจ

  • พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกโลมา (Nursing behavior) 
           โลมา หลังโหนกมีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ รูปแบบของสีบนลำตัวมีการผันแปรไปตามอายุ ลูกโลมาเกิดใหม่จะมีผิวลำตัวส่วนบนเป็นสีเทาเข้มจนถึงสีดำ ไม่มีจุดหรือรอยด่าง มีขนาดตัว 1/3-1/2 ของขนาดตัวเต็มวัย และสีจะอ่อนลงตามอายุ ตัวเต็มวัยจะมีสีขาวอมชมพู จุดหรือรอยด่างบริเวณผิวลำตัวส่วนบนอาจหายไปทั้งหมด
           จาก
การสำรวจพบลูกโลมาเกิดใหม่จำนวน 2 ตัว สังเกตจากขนาดลำตัว รอยเยื่อหุ้มตัวอ่อน ที่มีลักษณะเป็นเส้นจางๆ ข้างลำตัว จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า แม่โลมามักจะคอยว่ายเคียงคู่ไปกับลูกโลมา โดยจะมีโลมาตัวอื่นมารวมฝูงกันเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยดูแลระแวดระวังภัยเมื่อมีศัตรูหรือเรือเข้ามาใกล้ ในขณะที่แม่โลมากำลังเลี้ยงดูลูกอ่อนอยู่นั้น แม่โลมาจะระแวดระวังเป็นพิเศษ โดยจะคอยพาลูกว่ายหนีและพยายามอยู่ห่างจากเรือมากกว่าปกติ

  • พฤติกรรมการหลบหลีกเรือ 
            โลมา หลังโหนกค่อนข้างอ่อนไหวต่อการถูกรบกวนจากการสัญจรทางเรือบริเวณชายฝั่ง โลมาจะไม่ได้รับผลกระทบจากการว่ายน้ำหรือการเล่นกระดานโต้คลื่น แต่มักจะถูกรบกวนจากเรือที่ ใช้เครื่องยนต์ จากการสังเกตไม่พบว่าโลมาหลังโหนกมีพฤติกรรมการเล่นคลื่นหรือการว่ายโต้คลื่นที่หัวเรือ
            เมื่อเปรียบเทียบกับโลมาปากขวด และ ไม่ค่อยเข้ามาใกล้เรือสำรวจ โดยเฉพาะในขณะที่เรือกำลังแล่น   หากถูกรบกวนจากเรือ โลมาจะแสดงพฤติกรรมว่ายหนีโดยมักจะดำน้ำลงไปแล้วไปโผล่ในจุดอื่นหรืออาจว่าย เปลี่ยนทิศทางไปจากเดิม บางครั้งพบว่าโลมามีการว่ายลอดใต้ท้องเรือเพื่อเปลี่ยนทิศทางไป
ตรงกันข้ามกับที่เรือแล่นด้วย



เสียงของโลมา



            ปกติ สัตว์บกมักจะมีประสาทรับเสียงและกลิ่นที่ฉับไวมากในสัตว์ทะเลนั้นมีปัจจัย เรื่องของน้ำและการดูดซับของเสียงจากน้ำ แต่เสียงสามารถเดินทางได้ดีในน้ำดังนั้นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจึงใช้ เสียงร้องและการได้ยินเป็นเครื่องมือสื่อสารขั้นพื้นฐานระหว่างกัน มันใช้เสียงในการสื่อสาร การหาอาหาร และการอพยพย้ายถิ่น นอกจากนี้ในฤดูผสมพันธุ์เสียงร้องยังมีส่วนสำคัญมากในการหาคู่ของมันอีกด้วย 
ประโยชน์ของสัญญาณเสียง

- ใช้แทนการมองเห็นสภาพแวดล้อมใต้น้ำในสภาวะที่มีความขุ่นของน้ำและแสงสว่างไม่เพียงพอ

- ช่วยในการบอกทิศทาง ตำแหน่งของอาหาร
- ติดต่อสื่อสารระหว่างกันในกลุ่ม รวมถึงการกระตุ้นลูกโลมาแรกเกิดให้จำเสียงแม่ได้
- การเตือนภัยด้วยสัญญาณเสียง
 


ภัยคุกคามโลมาสีชมพู


 Cr : http://img.turtlehurtled.com/pink-dolphin/Chinese-White-Dolphin.jpg
 
1) ภัยคุกคามในระยะสั้น
อุบัติเหตุที่เกิดจากเรือชน
การติดอวน และตาข่ายดักปลา หรือเสียชีวิตจากการใช้เครื่องมือทางการประมงที่ผิดกฎหมาย เช่น การใช้ระเบิด จากสถิติพบว่าร้อยละ 5 ตายเพราะติดเครื่องมือชาวประมง
ระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นทั้งเสียงที่มาจากเรือท่องเที่ยว เรือประมง หรือเครื่องบินเล็กที่บินเพื่อจะดูโลมา
การล่าเพื่อเป็นอาหารและเพื่อนำไปฝึกแสดงในโชว์ซึ่งในปัจจุบันในภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้มีประมาณ 80 แห่งและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะโลมาสีชมพูจะถูกล่ามากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เนื่องจากอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มจึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจประเภทนี้
ผลกระทบจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และอายุของโลมา หากโลมาอายุน้อยหรืออยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงมาก โลมาบางสายพันธุ์อาจจะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่แย่ลง เช่น การเปลี่ยนพฤติกรรมและเส้นทางการว่ายน้ำ การปรับระดับการดำน้ำ การปรับระยะเวลาการดำน้ำซึ่งจะสัมพันธ์กับอัตราการหายใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกเสียงเพื่อสื่อสารกัน และถ้าหากไม่สามารถจะปรับตัวได้ก็จะย้ายถิ่นไปที่อื่นที่มีอาหารและมีสิ่ง รบกวนน้อยกว่า 
2) ภัยคุกคามในระยะยาว ภัยคุกคามในระยะยาวคือ ผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่มีผลในการทำลายแหล่งที่อยู่ อาศัยรวมทั้งปริมาณและคุณภาพของอาหาร ซึ่งล้วนมีผลต่ออายุขัย สุขภาพ และความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เช่น การสะสมสารพิษในร่างกาย โดยผลการวิจัยพบว่าสารพิษที่สะสมอยู่ในโลมามาจากอาหารที่กิน นอกจากนั้นโลมาจะได้รับสารพิษโดยตรงจากมลพิษในน้ำทะเลมาจากน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม และคราบน้ำมัน
โดย ทั่วไปสารพิษจะสะสมอยู่ในชั้นไขมัน (fatty Tissues) และที่เป็นโลมาแม่และลูกอันตรายมากคือ ปริมาณไขมันในนมของโลมามีมากจึงถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกและทำให้สารพิษนั้น สะสมอยู่ในโลมาตั้งแต่วัยอ่อน
ผลจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ความสามารถในการเผาผลาญ (metabolize) สารพิษของโลมาจะต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์และสัตว์บก ซึ่งสารพิษสะสมนี้จะมีผลกระทบหลายด้าน เช่น
-ทำให้เกิดโรคมะเร็ง
- กระทบต่อระบบการสืบพันธุ์
- กระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน
- ทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับตับ
นอกจากสารเป็นพิษแล้ว ปริมาณของสารที่ไม่เป็นพิษก็อาจจะมีผลต่อคุณภาพน้ำได้เช่นกัน เช่น ตะกอนดิน ที่ชะล้างลงทะเลมักจะมีสารอาหาร ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายทะเล ทำให้ปะการังตาย ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะกระทบปริมาณและคุณภาพของอาหารของโลมา
การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของโลมา เช่น การสร้างท่าเรือ การขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งทำให้มีตะกอนมาก ฯลฯ
พฤติกรรมอีกส่วนหนึ่งของมนุษย์คือ การทิ้งขยะ เพราะโลมาอาจจะกินพลาสติกและขยะที่ลอยในทะเล ซึ่งทำให้ไม่สามารถกินอาหารได้ ในบรรดาสายพันธุ์ต่าง ๆ โลมาสีชมพูจะได้ผลกระทบมากกว่า เนื่องจากเป็นสายพันธุ์โลมาที่ค่อนข้างจะมีแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินใกล้ชายฝั่ง

Cr : http://www.lomakhanom.com/blog%201.html

Cr : http://www.youtube.com/watch?v=ZCJgvabihQ8

   



 


วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ใบงานที่ 3 ตัวอย่างข้อสอบ ปีการศึกษาต่างๆ

วิชาภาษาไทย



วิชาสังคม


วิชาภาษาอังกฤษ


วิชาคณิตศาสตร์


-เฉลย-



วิชาฟิสิกส์



วิชาเคมี



วิชาชีววิทยา


ใบงานที่ 1 สำรวจตนเอง

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

My first blog




.. . . .. . . . . .. . . . .. . . . . .. . . . . . .. . . . . . . . .. . . . . . .. . . . .


Cr : https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjrwUvdpYQAAsdE26SXg99i6jzzsCKY6NQCg-AduwXXWvXHFuplWiHD-mc8MyZLUPiZSazX9QTH7mgIZcS7NtbUO2QMAmBBw91D8zluhZmprQsbAFgSBHz8i5Zghyphenhyphen3LLSUUqcsyndRoeAM/s1600/10.png



Cr : http://www.youtube.com/watch?v=NGMnllRjSS4